2557-02-08

การละเล่นของเด็กไทย

การละเล่นของเด็กไทย  การเล่นเป็นชีวิตจิตใจของเด็กไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบเล่นไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อนๆ การเล่นและเด็กจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น  
               การเล่นไม่ใช่การใช้เวลาสูญเปล่า  แต่เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสามารถทางกายจิตใจ และช่วยให้มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในชิวิต  
               การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตามการละเล่นแต่ละภาค



-  การละเล่นภาคเหนือ
 -  การละเล่นภาคกลาง
-  การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
-  การละเล่นภาคใต้

ตัวอย่างการละเล่นภาคเหนือ
ชื่อ
ซิกโก๋งเก๋ง
ภาค
ภาคเหนือ
จังหวัด 
พะเยา
อุปกรณ์    โก๋งเก๋งทำจากไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น
วิธีการเล่น   ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง

ชื่อ
ชนกว่าง
ภาค
ภาคเหนือ
จังหวัด
เชียงใหม่
      ในบรรดาการละเล่นพื้นบ้านทางภาคเหนือโดยเฉพาะการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น การเล่นชนกว่างนับได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อยกว่าการชนไก่ กัดปลา ชนวัว หรือวิ่งควาย ของภาคอื่น ๆ
      กว่าง  เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลด้วงมี ๖ ขา แต่ละขามีเล็บสำหรับเกาะยึดกิ่งไม้ ใบไม้ได้อย่างมั่นคงกว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา บางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นเช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม
อุปกรณ์ในการเล่น   กว่างที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้ชนนั้นจะเป็นกว่างตัวผู้และมีเขาทั้งบนและล่าง ปลายเขาจะแยกออกเป็นแฉกและแหลมคม เขาบนติดกับส่วนหัวไม่สามารถขยับได้ ส่วนเขาล่างสามารถขยับหนีบได้ซึ่งส่วนเขานี้เองคืออาวุธสำคัญในการต่อสู้กับศัตรู
โอกาสหรือเวลาที่เล่น   ฤดูกาลเล่นชนกว่างจะเริ่มต้นตั้งแต่กลางฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาวโดยชาวบ้านจะไปจับตามกอไม้รวกด้วยการเขย่าให้ตกลงมา ถ้าเห็นว่ามีลักษณะดีตรงตามชนิดที่จะสามารถนำมาเลี้ยงไว้ชนได้ก็จะนำมาเลี้ยงโดยให้อาหารจำพวกหน่อไม้ ลูกบวบ กล้วยสุก อ้อย

ตัวอย่างการละเล่นภาคกลาง
ชื่อ
หมากเก็บ
ภาค
ภาคกลาง
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
อุปกรณ์สำหรับเล่น  คือ ก้อนหิน หรือก้อนกรวดที่มีลักษณะกลม ๆ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น    การเล่นหมากเก็บไม่ได้จำกัดโอกาสและเวลา จะเล่นเมื่อใดก็ได้ ที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ   ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ฝึกความว่องไว ไหวพริบ ความระมัดระวัง และฝึกสายตาอีกด้วย

ชื่อ
ชักเย่อ
ภาค
ภาคกลาง
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา 
วิธีการเล่น  แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
โอกาสที่เล่น   ชักเย่อเป็นการละเล่นประกอบเพลงระบำเช่นเดียวกันช่วงรำที่ชาวบ้านหัวสำโรงเล่นในวันสงกรานต์เช่นกัน
คุณค่าในอดีต  กิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกัน ก็คืองานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกั

ตัวอย่างการละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
ชื่อ
โปงลาง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
กาฬสินธุ์

   "โปงลาง" เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอีสานชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ "โปงลาง" จึงควรแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบ และตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามและคุณความดีของบุคคลที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสืบทอดไว้ตราบชั่วกาลนาน

อุปกรณ์   การเล่นโปงลางต้องประกอบไปด้วยดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ แคน ซอ พิณ หมากกั๊บแก้บ กลอง ไห นอกจากนี้ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดยมีนักร้องและผู้ร่ายรำประกอบเสียงดนตรีในวงโปงลางอีกด้วย

ชื่อ
การเล่นงูกินหาง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
  ร้อยเอ็ด  
อุปกรณ์การเล่น
        หางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน ๒ หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ ๑๕ x ๑๕ เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี ๖ เมตร
ผู้เล่นมีจำนวน ๘-๑o คน แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่ ๑ จะต้องเป็น พ่องู” ๑ คน ฝ่ายที่ ๒ มี แม่งู” ๑ คน ที่เหลือเป็นลูกงู” ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า แม่งูเอ๋ย” แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่าเอ๋ย” พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหาง” แม่งูตอบว่า กินกลางตลอดตัว” ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด
ตัวอย่างการละเล่นภาคใต้
ชื่อ
หมากขุม
ภาค
ภาคใต้
จังหวัด
นครศรีธรรมราช
อุปกรณ์ในการเล่น
๑) รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมากใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมากในการเล่น ๙๘ ลูก

๓) ผู้เล่นมี ๒ คน

โอกาสหรือเวลาในการเล่น การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน
คุณค่า สาระ แนวคิด
๑. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีก ผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร

๓. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม



ชื่อ
กำทาย
ภาค
ภาคใต้
จังหวัด
พังงา
 อุปกรณ์การเล่น
๑. อุปกรณ์ในการเล่นมีดังนี้ (ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด)
๑) ยางเส้น
๒) เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
๓) เมล็ดสวาด
๔) เมล็ดสวด
๕) ลูกนู (ก้อนดินกลม)
 วิธีการเล่น๑) เมื่อสัญญาณการเล่นเริ่มขึ้นทุกคนจะกอบหรือกำของที่อยตรงหน้านั้น โดยไม่ให้คนอื่นเห็นว่ามีจำนวนเท่าใด
๒) ให้ทายที่คนว่าของในมือของทุกคนเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเท่าใด
๓) เมื่อทายเสร็จทุกคนแบมือออกและนับของในมือของทุกคน ใครทายถูกได้เป็นกรรมสิทธิ์ในของนั้น ถ้าทายถูกหลายคนใช้วิธีหารแบ่งกัน ถ้ามีเศษให้รวมไว้เป็นกองกลาง เพื่อเล่นหนต่อไป
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
กำทาย เป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นได้ทั้งชายและหญิงเป็นการเล่นในร่ม โดยมีผู้เล่น ๒-๕ คน นั่งล้อมวงกัน แล้วแต่ละคนเอาของชนิดเดียวกันวางกองไว้ตรงหน้า
     การเล่นกำทาย เป็นการละเล่นที่ฝึกทักษะในการคำนวณ
 และการสังเกต
   ** "การละเล่นพื้นบ้าน"  เป็นสื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าวิธีอื่น การเล่นของเด็กไทยก็มีหลายอย่างที่เหมือนกับเด็กชาติอื่น และที่แตกต่างเป็นของไทยโดยเฉพาะก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติของแต่ละชาติ เช่น การเล่นซ่อนหาในยุโรปก็มีเล่นกันมาก วิธีเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย การเล่นของเด็กในเอเชียที่คล้ายกันได้แก่ หมากเก็บ ในอินเดียวและฟิลิปปินส์ก็มีแต่วัสดุที่นำมาเล่นต่างกัน 
การละเล่นของเด็กไทยที่จะนำมากล่าวถึงจะเป็นเพียงตัวอย่างที่เลือกมาจากที่เล่นกันอยู่ในสมัยโบราณ เฉพาะที่มีคุณค่าในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ การเล่นบางอย่างยังยืนยงมาถึงปัจจุบัน บางอย่างก็หมดไปด้วยเหตุที่วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่ เพราะเด็กขาดความอิสระเสรีในการเล่นพ่อแม่ ครูเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการเล่นของเด็กมากขึ้นการเล่นแบบเดิมนี้จึงควรอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติวัฒนธรรมของไทยให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จักและเพื่อศึกษา ลักษณะสังคมไทยในสมัยนั้น ๆ

รีรีข้าวสาร


ซ่อนแอบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น